วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

วิดีโอแนะนำศูนย์การเรียนรู้ก้าวสู่อาเซียน..

..วิดีโอแนะนำศูนย์การเรียนรู้ก้าวสู่อาเซียน..



ทฤษฎีและหลักการที่ใช้ในศูนย์การเรียนรู้
ทฤษฎีองค์การแบบสิ่งมีชีวิต(Organic Organization) คือ องค์การที่ให้ความสำคัญกับการปรับตัว(Adaption)มุ่งเน้นการทำงานอย่างมีความสุขและให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์เป็นแกนหลักในการทำงาน
1. โครงสร้างแบบยืดหยุ่น (Flexible Structure) ไม่ยึดติดกับโครงสร้างที่ตายตัวแบบองค์การแบบเครื่องจักรมีการปรับโครงสร้างให้เข้ากับสภาพแวดล้อมการทำงาน เพราะเป็นศูนย์ที่ตั้งรับการเกิดขึ้นของอาเซียนในอนาคตจึงต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบไปตามเวลาและสถานการณ์ต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต  ซึ่งเราไม่สามารถกำหนดเหตุการณ์ต่างๆไว้ล่วงหน้าได้ ดังนั้นโครงสร้างขอศูนย์การเรียนจึงต้องยืดหยุ่นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต

2. มีการกระจายอำนาจ (Decentralization) ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจไม่ผูกขาดการตัดสินใจที่ผู้บังคับบัญชา เพื่อให้เปิดกว้างทางความคิดผู้บังคับบัญชาไม่มีสิทธิผูกขาดการตัดสินใจทุกอย่างจะเป็นไปตามเหตุและผลที่สมควร ผู้บังคับบัญชาจะเป็นเพียงผู้ชี้แนะและสรุปเรื่องทุกอย่าง ทำให้องค์กรสามารถพัฒนาไปได้อย่างไร้ขอบจำกัด

3. การทำงานเป็นทีม (team work) ทีมงานจะช่วยกันผลักดันงานให้บรรลุผลสำเร็จโดยสมาชิกแต่ละคนอาจทำงานหลายด้าน มีความชำนาญทั่วไป (generalist) การทำงานภายในศูนย์จะต้องอาศัยการทำงานที่เป็นทีมเวิร์ค และผู้ที่ชำนาญการหลากหลายด้านมาช่วยเหลืองานจึงจะบรรลุผลสำเร็จได้ นอกจากนี้ผู้ที่ทำงานแต่ละคนต้องอาศัยใจรักและมีความเต็มใจที่อยากจะทำงานที่ได้รับมอบหมายนี้ด้วย เพราะภาระต่างๆภายในศูนย์การเรียนรู้มีมากมายหลากหลายและเป็นงานที่ยากต้องอาศัยความรอบครบเป็นอย่างมากเพราะงานจะถูกเผยแพร่สู่สาธารณะชน ดังนั้นงานที่ออกมากจะต้องสมบูรณ์และถูกต้องที่สุด

4. เน้นผลงานมากกว่ากฎระเบียบ (Performance-oriented) กฎระเบียบจะกำหนดเท่าที่จำเป็น โดยจะมองว่ากฎระเบียบเป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยในการทำงานหากไม่เหมาะสมสามารถปรับเปลี่ยนได้ และยึดผลงานเป็นหลักมากกว่าในการทำงานที่เคร่งกฎระเบียบจะมากเกินไปหรือใช้ไปในทางที่ไม่เหมาะสม อาจจะทำให้เป็นผลร้ายเนื่องจากงานภายในศูนย์การเรียนรู้มีปริมาณมากและยาก ซึ้งสร้างความกดดันต่อพนักงานหรือจำกัดกรอบของความคิด ดังนั้นผลงานที่ได้คือสิ่งสามารถบอกได้ว่ากฎระเบียบเหล่านั้นเหมาะสมหรือไม่กับการทำงานเหล่านั้นหรือไม่อย่างไร

5. การติดต่อสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ (Informal Communication) สมาชิกสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ในทุกระดับโดยตรง ไม่ต้องผ่านโครงสร้างสายการบังคับบัญชาและไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบอย่างเป็นทางการ ในบางครั้งอาจจะเกิดกรณีเร่งด่วนซึ่งจะเป็นการลำบากที่จะต้องติดต่อกันทางอ้อม เพราะศูนย์การเรียนรู้แหล่งนี้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาหรือเกิดเหตุฉุกเฉินได้  หากยังยืดติดกับรูปแบบก็คงจะไม่ทันการ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น