วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

เกี่ยวกับเรา..


โครงการจัดตั้งศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เสมือนจริง
..ศูนย์การเรียนรู้ก้าวสู่อาเซียน..






นโยบายหลัก
            1.ให้ข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องทันสมัยเกี่ยวกับอาเซียนแก่ผู้รับบริการ
            2.เสริมสร้างให้เกิดความสนใจอย่างแท้จริงเกี่ยวกับอาเซียนให้กับนักศึกษา บุคลากร และบุคคลทั่วไป
            3.ส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศไทยกับประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศคู่เจรจา
4. เสริมสร้างให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างชุมชนในเอเชียกับชุมชนอื่นทั่วโลก
5.ส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนไทยให้มีสมรรถนะที่สำคัญสำหรับการดำเนินชีวิตในประชาคมอาเซียน
6.เป็นศูนย์กลางคลังความรู้และเผยแพร่ด้านอาเซียนของมหาวิทยาลัยบูรพา



ปณิธาน
            เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่เป็นแหล่งศึกษาวิจัย เผยแพร่ความรู้เพื่อเตรียมพร้อมก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียนอย่างแท้จริง




วิสัยทัศน์
            เป็นศูนย์กลางในการศึกษาวิจัย เผยแพร่ความรู้ เกี่ยวกับอาเซียนสู่สาธารณชน รวมทั้งเป็นเครือข่ายและคลังสมองด้านอาเซียนศึกษา และเป็นประโยชน์ในการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ และบทบาทของไทยในการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนด้วย



พันธกิจ
            1. ส่งเสริมให้เกิดการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอาเซียน
            2. ดำเนินการให้มีองค์ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน เผยแพร่ข้อมูล และความรู้เกี่ยวกับอาเซียนสู่สาธารณชน
            3. ส่งเสริมการจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับอาเซียน
            4. ส่งเสริมการเป็นคลังสมองด้านอาเซียน รวมทั้งการสร้างเครือข่ายด้านอาเซียนศึกษาทั้งในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ



คำขวัญของหน่วยงาน
            เตรียมความพร้อม ก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียนอย่างเติมตัว



สัญลักษณ์ของหน่วยงาน


วัตถุประสงค์และเป้าหมาย..

..วัตถุประสงค์และเป้าหมาย..


วัตถุประสงค์
1. เสริมสร้างความสนใจอย่างแท้จริงเกี่ยวกับอาเซียนให้กับนักศึกษา บุคลากร และบุคคลทั่วไป
2. ส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศไทยกับประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศคู่เจรจา
3. เสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างชุมชนในเอเชียกับชุมชนอื่นทั่วโลก
4. เป็นกลไกหลักของมหาวิทยาลัยบูรพา ที่รองรับประชาคมอาเซียน ปี2558
5. เป็นศูนย์กลางคลังความรู้และเผยแพร่ด้านอาเซียนของมหาวิยาลัย

เป้าหมาย
            นักศึกษา บุคลากร และบุคคลทั่วไป



หลักการและเหตุผล ..

..หลักการและเหตุผล ..


            ประเทศไทยเป็น 1 ใน 5 ของประเทศสมาชิกก่อตั้ง และเป็นจุดกำเนิดของอาเซียน ไทยมีบทบาทอย่างแข็งขันในกิจกรรมของอาเซียนตลอดมา รวมทั้งยังมีส่วนผลักดันให้อาเซียนมีความร่วมมือในด้านต่างๆ อาทิ การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน ASEAN Regional Forum สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ฯลฯ
            ในขณะเดี่ยวกัน อาเซียนก็มีความสำคัญต่อประเทศไทย โดยนอกจากจะสร้างพันธมิตรและความเป็นปึกแผ่น ตลอดจนเสถียรภาพและสันติภาพในภูมิภาคแล้ว ยังช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองในการเจรจาระหว่างประเทศ และร่วมมือกันในการแก้ปัญหาข้ามชาติ นอกจากนั้น ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจของอาเซียน ได้เปิดโอกาสให้มีการขยายตัวทางด้านการค้าและการลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งจะนำผลดีมาสู่เศรษฐกิจของประเทศไทย ในปัจจุบัน กลุ่มประเทศอาเซียนถือเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทย โดยในปี 2007 มูลค่าการค้าไทยกับอาเซียนมีถึง 57,592 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นอย่างมาก และจากการที่กำลังจะมีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้นในปี 2015 จะก่อให้เกิดการรวมตัวกันทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมภายในภูมิภาค ทำให้ส่งผลกระทบต่อไทยเป็นอย่างมาก ดังนั้น ประเทศไทยจำเป็นต้องตั้งรับต่อการร่วมตัวดังกล่าว
            ดังนั้น จากการประชุมคณะกรรมการอาเซียนแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2554 ที่ประชุมจึงได้เห็นชอบในหลักการถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับโครงสร้างส่วนราชการเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 โดยให้ทุกหน่วยงานมีหน่วยงานเฉพาะสำหรับดูแลงานด้านอาเซียน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการประสานงานเกี่ยวกับอาเซียนระหว่างหน่วยงานของไทย
            ซึ่งมหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาหลักของไทย จึงมียุทธศาสตร์หลัก ในแผนกลยุทธ์ฯ  ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ในการที่จะ
            1.จัดการศึกษาที่ได้มาตรฐานสากล โดยปรับทุกหลักสูตรให้มีเนื้อหาสอดคล้องกับความต้องการของประเทศและสอดรับกับความสำคัญที่ทวีมากขึ้นของเอเชีย และประชาคมอาเซียน
            2.ขยายบทบาทความเป็นผู้นำความร่วมมือทางวิชาการในรูปแบบต่างๆอย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้นกับมหาวิทยาลัยชั้นนำใน ASEAN และเอเชีย
            3.สร้างงานวิจัยที่ได้มาตรฐานสากล และแก้ไขปัญหาของสังคมด้วยการเพิ่มงบปริมาณวิจัย งบสนับสนุนการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการชั้นนำระดับชาติ การสร้างเครือข่ายพี่เลี้ยงและกลุ่มนักวิจัยคุณภาพสูง ตลอดจนการผลักดันให้เกิดวารสารวิชาการใหม่ๆในระดับ ASEAN หรือเอเชีย
            ดังนั้น จึงเห็นสมควรที่จะได้มีการริเริ่มจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ก้าวสู่อาเซียนขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางในการศึกษาวิจัย เผยแพร่ความรู้ เกี่ยวกับอาเซียนสู่สาธารณชน รวมทั้งเป็นเครือข่ายและคลังสมองด้านอาเซียนศึกษา และเป็นประโยชน์ในการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ และบทบาทของไทยในการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนด้วย

Scan QR Code..

..Scan QR Code..

สามารถ Scan QR Code เพื่อเข้าสู่ Blogger ของศูนย์การเรียนรู้ก้าวสู่อาเซียน


วิดีโอแนะนำศูนย์การเรียนรู้ก้าวสู่อาเซียน..

..วิดีโอแนะนำศูนย์การเรียนรู้ก้าวสู่อาเซียน..



ทฤษฎีและหลักการที่ใช้ในศูนย์การเรียนรู้
ทฤษฎีองค์การแบบสิ่งมีชีวิต(Organic Organization) คือ องค์การที่ให้ความสำคัญกับการปรับตัว(Adaption)มุ่งเน้นการทำงานอย่างมีความสุขและให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์เป็นแกนหลักในการทำงาน
1. โครงสร้างแบบยืดหยุ่น (Flexible Structure) ไม่ยึดติดกับโครงสร้างที่ตายตัวแบบองค์การแบบเครื่องจักรมีการปรับโครงสร้างให้เข้ากับสภาพแวดล้อมการทำงาน เพราะเป็นศูนย์ที่ตั้งรับการเกิดขึ้นของอาเซียนในอนาคตจึงต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบไปตามเวลาและสถานการณ์ต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต  ซึ่งเราไม่สามารถกำหนดเหตุการณ์ต่างๆไว้ล่วงหน้าได้ ดังนั้นโครงสร้างขอศูนย์การเรียนจึงต้องยืดหยุ่นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต

2. มีการกระจายอำนาจ (Decentralization) ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจไม่ผูกขาดการตัดสินใจที่ผู้บังคับบัญชา เพื่อให้เปิดกว้างทางความคิดผู้บังคับบัญชาไม่มีสิทธิผูกขาดการตัดสินใจทุกอย่างจะเป็นไปตามเหตุและผลที่สมควร ผู้บังคับบัญชาจะเป็นเพียงผู้ชี้แนะและสรุปเรื่องทุกอย่าง ทำให้องค์กรสามารถพัฒนาไปได้อย่างไร้ขอบจำกัด

3. การทำงานเป็นทีม (team work) ทีมงานจะช่วยกันผลักดันงานให้บรรลุผลสำเร็จโดยสมาชิกแต่ละคนอาจทำงานหลายด้าน มีความชำนาญทั่วไป (generalist) การทำงานภายในศูนย์จะต้องอาศัยการทำงานที่เป็นทีมเวิร์ค และผู้ที่ชำนาญการหลากหลายด้านมาช่วยเหลืองานจึงจะบรรลุผลสำเร็จได้ นอกจากนี้ผู้ที่ทำงานแต่ละคนต้องอาศัยใจรักและมีความเต็มใจที่อยากจะทำงานที่ได้รับมอบหมายนี้ด้วย เพราะภาระต่างๆภายในศูนย์การเรียนรู้มีมากมายหลากหลายและเป็นงานที่ยากต้องอาศัยความรอบครบเป็นอย่างมากเพราะงานจะถูกเผยแพร่สู่สาธารณะชน ดังนั้นงานที่ออกมากจะต้องสมบูรณ์และถูกต้องที่สุด

4. เน้นผลงานมากกว่ากฎระเบียบ (Performance-oriented) กฎระเบียบจะกำหนดเท่าที่จำเป็น โดยจะมองว่ากฎระเบียบเป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยในการทำงานหากไม่เหมาะสมสามารถปรับเปลี่ยนได้ และยึดผลงานเป็นหลักมากกว่าในการทำงานที่เคร่งกฎระเบียบจะมากเกินไปหรือใช้ไปในทางที่ไม่เหมาะสม อาจจะทำให้เป็นผลร้ายเนื่องจากงานภายในศูนย์การเรียนรู้มีปริมาณมากและยาก ซึ้งสร้างความกดดันต่อพนักงานหรือจำกัดกรอบของความคิด ดังนั้นผลงานที่ได้คือสิ่งสามารถบอกได้ว่ากฎระเบียบเหล่านั้นเหมาะสมหรือไม่กับการทำงานเหล่านั้นหรือไม่อย่างไร

5. การติดต่อสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ (Informal Communication) สมาชิกสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ในทุกระดับโดยตรง ไม่ต้องผ่านโครงสร้างสายการบังคับบัญชาและไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบอย่างเป็นทางการ ในบางครั้งอาจจะเกิดกรณีเร่งด่วนซึ่งจะเป็นการลำบากที่จะต้องติดต่อกันทางอ้อม เพราะศูนย์การเรียนรู้แหล่งนี้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาหรือเกิดเหตุฉุกเฉินได้  หากยังยืดติดกับรูปแบบก็คงจะไม่ทันการ