วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

หลักการและเหตุผล ..

..หลักการและเหตุผล ..


            ประเทศไทยเป็น 1 ใน 5 ของประเทศสมาชิกก่อตั้ง และเป็นจุดกำเนิดของอาเซียน ไทยมีบทบาทอย่างแข็งขันในกิจกรรมของอาเซียนตลอดมา รวมทั้งยังมีส่วนผลักดันให้อาเซียนมีความร่วมมือในด้านต่างๆ อาทิ การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน ASEAN Regional Forum สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ฯลฯ
            ในขณะเดี่ยวกัน อาเซียนก็มีความสำคัญต่อประเทศไทย โดยนอกจากจะสร้างพันธมิตรและความเป็นปึกแผ่น ตลอดจนเสถียรภาพและสันติภาพในภูมิภาคแล้ว ยังช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองในการเจรจาระหว่างประเทศ และร่วมมือกันในการแก้ปัญหาข้ามชาติ นอกจากนั้น ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจของอาเซียน ได้เปิดโอกาสให้มีการขยายตัวทางด้านการค้าและการลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งจะนำผลดีมาสู่เศรษฐกิจของประเทศไทย ในปัจจุบัน กลุ่มประเทศอาเซียนถือเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทย โดยในปี 2007 มูลค่าการค้าไทยกับอาเซียนมีถึง 57,592 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นอย่างมาก และจากการที่กำลังจะมีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้นในปี 2015 จะก่อให้เกิดการรวมตัวกันทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมภายในภูมิภาค ทำให้ส่งผลกระทบต่อไทยเป็นอย่างมาก ดังนั้น ประเทศไทยจำเป็นต้องตั้งรับต่อการร่วมตัวดังกล่าว
            ดังนั้น จากการประชุมคณะกรรมการอาเซียนแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2554 ที่ประชุมจึงได้เห็นชอบในหลักการถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับโครงสร้างส่วนราชการเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 โดยให้ทุกหน่วยงานมีหน่วยงานเฉพาะสำหรับดูแลงานด้านอาเซียน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการประสานงานเกี่ยวกับอาเซียนระหว่างหน่วยงานของไทย
            ซึ่งมหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาหลักของไทย จึงมียุทธศาสตร์หลัก ในแผนกลยุทธ์ฯ  ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ในการที่จะ
            1.จัดการศึกษาที่ได้มาตรฐานสากล โดยปรับทุกหลักสูตรให้มีเนื้อหาสอดคล้องกับความต้องการของประเทศและสอดรับกับความสำคัญที่ทวีมากขึ้นของเอเชีย และประชาคมอาเซียน
            2.ขยายบทบาทความเป็นผู้นำความร่วมมือทางวิชาการในรูปแบบต่างๆอย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้นกับมหาวิทยาลัยชั้นนำใน ASEAN และเอเชีย
            3.สร้างงานวิจัยที่ได้มาตรฐานสากล และแก้ไขปัญหาของสังคมด้วยการเพิ่มงบปริมาณวิจัย งบสนับสนุนการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการชั้นนำระดับชาติ การสร้างเครือข่ายพี่เลี้ยงและกลุ่มนักวิจัยคุณภาพสูง ตลอดจนการผลักดันให้เกิดวารสารวิชาการใหม่ๆในระดับ ASEAN หรือเอเชีย
            ดังนั้น จึงเห็นสมควรที่จะได้มีการริเริ่มจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ก้าวสู่อาเซียนขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางในการศึกษาวิจัย เผยแพร่ความรู้ เกี่ยวกับอาเซียนสู่สาธารณชน รวมทั้งเป็นเครือข่ายและคลังสมองด้านอาเซียนศึกษา และเป็นประโยชน์ในการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ และบทบาทของไทยในการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น